ผลงานเด่นของบุคลากรภาควิชาเคมีคลินิก
• คณาจารย์ของภาควิชาฯ จัดทำตำราที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาคุณภาพทางสาขาชีพด้านเทคนิคการแพทย์โดยใช้งบประมาณจากหน่วยงานภายนอก มาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี พ.ศ. 2539 จำนวน 10 เล่ม ซึ่งส่วนหนึ่งนำมาดำเนินการปรับให้เป็นระบบ electronic book เพื่อเผยแพร่ความรู้ต่อไป รายชื่อตำรามีดังนี้
1 | Trend of Clinical Chemistry Laboratory Accreditation in Thailand. In Clinical Laboratory Accreditation. Edited by Sirisali K., H.T.P. Ltd., Bangkok 1996. |
2 | Clinical Laboratory Accreditation. Edited by Sirisali K., H.T.P. Ltd., Bangkok 1997. |
3 | Basic & Intermediate System of Quality Control for the Clinical Laboratory. Try-Main Advertising Ltd., Bangkok 1998. |
4 | Quality Assurance: Standard Procedure for Blood Collection. Edited by Sirisali, S., Manociopinij, S. and Promptmas, C., H.T.P. Ltd., Bangkok 1998. |
5 | Quality Assurance: Quality Analysis Process in Clinical Laboratory According to ISO System. Edited by Sirisali, S., Manociopinij, S., Promptmas, C. and Vatanaviboon, P. H.T.P. Ltd., Bangkok 1998. |
6 | Quality Assurance: Quality Analysis Process in Clinical Laboratory According to ISO System. Edited by Sirisali, S., Manociopinij, S., Promptmas, C. and Vatanaviboon, P. H.T.P. Ltd., Bangkok 1998. |
7 | Clinical Diagnostic Technology: The Total Testing Process. Volume 3: The Postanalytical Phase. Edited by Ward-Cook, K.M., Lehmann, C.A., Schoeff, L.E. and Williams, R.H. AACC Press, Washington DC 2006. |
• ภาควิชาฯ มีการจัดทำเอกสารประกอบการสอนในรูปแบบอีเล็กโทรนิกส์ และจัดหาโปรแกรมฐานข้อมูลทางด้านเวชศาสตร์ชันสูตรให้กับนักศึกษาเพื่อสามารถนำไปศึกษาด้วยตนเอง และใช้เป็นแหล่งข้อมูลอ้างอิงที่เชื่อถือได้ทางด้านเคมีคลินิก
• มีผลงานให้บริการด้านการประเมินคุณภาพโดยองค์กรภายนอก (EQAC) ทางเคมีคลินิก และการวิเคราะห์ตะกั่วในเลือด มาเป็นระยะเวลานานอย่างต่อเนื่อง โดยเฉาะด้านเคมีคลินิกซึ่งเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2527
• บุคลากรของภาควิชาฯ เป็นหัวหน้าโครงการวิจัย ในปี 2552 โดยได้รับทุนจากแหล่งทุนภายนอกมหาวิทยาลัย จำนวน 3,490,000 บาท คิดเป็นสัดส่วน 232,500.00 บาท/อาจารย์ประจำ ซึ่งสูงกว่าสัดส่วนเฉลี่ยของคณะฯ ที่ 117,326.80 บาท/อาจารย์ประจำ โดยในปี 2552 มีผลงานการตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติจำนวน 10 เรื่อง คิดเป็น 0.83 เรื่อง/อาจารย์ประจำ ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยของคณะฯ
• ภาควิชาฯ มีเครือข่ายการวิจัยด้านไบโอเซ็นเซอร์ร่วมกับนักวิจัยภายในประเทศได้แก่
1. คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
2. คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
3. ศูนย์อีเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
ซึ่งผลงานร่วมส่วนหนึ่งอยู่ระหว่างการดำเนินการจดสิทธิบัตรในประเทศไทย
งานบริการของภาควิชาฯ อีกอย่างที่ถือว่าเป็นหนึ่งเดียวในวิชาชีพคือการให้บริการตรวจ VMA ในปัสสาวะ ซึ่งสถิติการให้บริการมีเพิ่มขึ้นทุกปี ในปี พ.ศ. 2550, 255 และ 2552 มีผู้ใช้บริการจำนวน 620, 840 และ 257 (นับถึง 11 ส.ค. 2552) ตามลำดับ นอกจากนี้ภาควิชาฯ ยังให้บริการการตรวจทางพิษวิทยา
วิจัยที่เป็นผลจากโครงการ collaborative research network และโครงการพัฒนากลุ่มวิจัยในสถาบันอุดมศึกษา ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ทำให้เกิดโครงการวิจัยร่วมกันกับสถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล (สถาบันอณูชีววิทยาและพันธุศาสตร์ เดิม) คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาขอนแก่น คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร และเกิดความร่วมมือทางการวิจัยกับ Department of Analytical Biochemistry, University of Potsdam, Germany
........................................................................................