จุดเด่นและทิศทางวิชาการ ภาควิชาจุลชีววิทยาคลินิกและเทคโนโลยีประยุกต์
ด้านการเรียนการสอน
การจัดการเรียนการสอน
1. มีการเรียนการสอน โดยบูรณาการความรู้จากทุกสาขาในภาควิชา และใช้ประสบการณ์หลากหลายจากคณาจารย์สอนร่วมกันเป็นทีม และพัฒนาการเรียนรู้เชิงบูรณาการเพิ่มขึ้น
2. มีการจัดการเรียนการสอนที่ใช้กระบวนการเรียนรู้หลากหลายวิธี หลากหลายกิจกรรม
3. มีการจัดการเรียนการสอนที่ใช้ชุมชนเป็นสถานที่เรียนรู้ชีวิตจริง โดยอิงกับงานวิจัยเชิงพื้นที่
ผลลัพธ์ที่เกิดกับผู้เรียน
1. มีการสร้างบรรยากาศเอื้อต่อการเรียนรู้
2. เสริมกระบวนการเรียนรู้
3. ได้รับการพัฒนา ด้านกระบวนการคิด การบริหารจัดการ และความรับผิดชอบ
4. สร้างเสริมสมประสบการณ์การเรียนรู้ในชีวิตจริง
ด้านงานวิจัย
1. จุดเด่นด้านการบริหารจัดการงานวิจัย
การมีกลุ่มวิจัยทำงานร่วมกันเป็นทีม โดยผู้นำทีมวิจัยมีวิสัยทัศน์มองเห็นความสำคัญของงานวิจัยต่อการพัฒนา ต่อการสร้างความเข้มแข็ง และถืองานวิจัยเป็นภารกิจหลักที่ต้องดำเนินการควบคู่กับภารกิจหลักอื่นๆการร่วมมือกับมหาวิทยาลัยต่างประเทศและกำหนดทิศทางการทำวิจัย เป็นกลไกสำคัญที่กระตุ้นให้คณาจารย์เกาะติดสถานการณ์ความก้าวหน้าด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี มีการเรียนรู้และประเมินแนวโน้มของการเปลี่ยนแปลงโลกในอนาคต เกิดกระบวนการถ่ายทอดการเรียนรู้ สร้างเสริมประสบการณ์ ทำวิจัยอย่างต่อเนื่อง สร้างผลงานร่วมกัน พัฒนาคุณภาพผลงานวิจัย และพัฒนาศักยภาพคณาจารย์ นักศึกษา นักวิจัย ทั้งในเรื่องการทำวิจัย การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัยเพื่อขอรับทุน การเขียนผลงานวิจัยเผยแพร่ในวารสารนานาชาติและในที่ประชุมวิชาการ
2. จุดเด่นด้านกระบวนการทำวิจัยและพัฒนา
มีการนำความรู้และเทคโนโลยีที่เป็นปัจจุบันหลายสาขามาบูรณาการในการทำวิจัย ขยายผลให้เกิดพัฒนาการด้านการประยุกต์ใช้กระบวนการเพื่อการวิจัยและพัฒนาต่อยอด หลากหลาย เช่น
2.1 การใช้กระบวนการทาง Bio-Chemical และ In Silico สังเคราะห์และพัฒนาสารต้านอนุมูลอิสระ และสกัดสารที่ออกฤทธิ์ทางชีวภาพจากผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ
2.2 การใช้กระบวนการทาง Genetic engineering และ Protein chemistry พัฒนาโมเลกุลติดตามในการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการจากโปรตีนเรืองแสงสีเขียว
2.3 การใช้กระบวนการสังเคราะห์พอลิเมอร์ลอกแบบที่จับจำเพาะต่อสารชีวโมเลกุล เพื่อประยุกต์ใช้ในการวิเคราะห์ทางเคมีชีวภาพและการแยกสารให้บริสุทธิ์
2.4 การใช้กระบวนการทางคอมพิวเตอร์ โดยใช้ Molecular Information/ Bioinformatic/ Chemoinformatic/ Clinical-Medical Informatics ทำให้ร่นระยะเวลา แรง
งานคน และค่าใช้จ่ายในการช่วยคัดกรองหาสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพและค้นพบตัวยาใหม่ เมื่อเทียบกับกระบวนการค้นหายาแบบดั้งเดิม
2.5 การสังเคราะห์ Artifial blood เพื่อการประยุกต์ใช้
2.6 การใช้เทคโนโลยีทาง Biosensor เพื่อการแยกวินิจฉัยเชื้อ
2.7 การใช้เทคนิคทางอณูชีววิทยา เพื่อการตรวจวินิจฉัยโรคติดเชื้อ และตรวจหายีนดื้อยาต้านจุลชีพ
2.8 การปรับสภาวะที่ใช้ในการเพาะเลี้ยงเชื้อแบคทีเรีย
3. จุดเด่นด้านผลการดำเนินการ
3.1 มีกลุ่มทำวิจัยในระดับแนวหน้า_ดำเนินงานวิจัยเชิงนวัตกรรม 3 โครงการ
โครงการวิจัย Artificial blood ถือเป็นโครงการวิจัยนำร่องเชิงนวัตกรรมการสังเคราะห์เลือดเทียม
กลุ่มทำวิจัยได้นำองค์ความรู้พื้นฐานที่ตกผลึกจนเป็นทฤษฎีสามารถอธิบายในทุกแง่มุมทั้งโครงสร้างและการทำงานของเลือด เช่น Blood component, structure and function มาวิเคราะห์สังเคราะห์ทำวิจัยต่อยอดเพื่อการพัฒนาและประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในวงกว้างต่อไป กลุ่มทำวิจัย เป็นส่วนร่วม 1 ใน 12 กลุ่มทำวิจัย จากมหาวิทยาลัยในประเทศและมหาวิทยาลัยในยุโรป และได้รับทุนสนับสนุนวิจัยจาก Swedish link
ผลลัพธ์ที่คาดหวังว่าจะได้ องค์ความรู้ใหม่ที่ลึกซึ้งขึ้น
ผลกระทบที่คาดหวัง เลือดเทียมสังเคราะห์ (1) เปิดทางเลือกใหม่สำหรับการประโยชน์จากเลือดในทางการแพทย์ (2) สามารถประยุกต์ใช้ทดแทนการทำงานของเลือดและลดผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ที่อาจเกิดจากการใช้เลือด เช่นลดความเสี่ยงการติดเชื้อที่ปนเปื้อนมากับเลือด ลดความเสี่ยงของการเข้ากันไม่ได้ระหว่างเลือดของผู้ให้และผู้รับ (3) ลดภาระงานในการทำการทดสอบการเข้ากันของเลือดผู้ให้และผู้รับ
โครงการวิจัย Molecular Information/ Bioinformatic/ Chemoinformatic/ Clinical-Medical Information
โครงการนี้ถือเป็นโครงการวิจัยนำร่องเชิงนวัตกรรมการสร้างโปรแกรมจัดการข้อมูล กลุ่มทำวิจัยได้นำ ศาสตร์และเทคโนโลยีที่เป็นปัจจุบันมาประยุกต์ใช้แบบบูรณาการในการจัดการข้อมูล องค์ความรู้สาขาต่างๆ ผสมผสานเชื่อมโยงกัน เช่นข้อมูลจำเพาะของสารเคมี ข้อมูลจำเพาะของเชื้อแบคทีเรีย องค์ความรู้ด้านคณิตศาสตร์ องค์ความรู้ด้านโปรแกรมการประมวลผล เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และสารสนเทศด้านเคมีวิทยา-ชีววิทยา เกิดการสร้างโปรแกรมซอพแวร์ที่ช่วยสร้างแบบจำลองและทำนายผล ที่แสดงข้อมูลสถิติประกอบเพื่อการสรุปตีความอย่างมีหลักการทางวิทยาศาสตร์ รวมถึงโปรแกรมซอพแวร์ที่รวบรวมองค์ความรู้จากตำราด้าน molecular imprinting
ผลลัพธ์ที่ได้ โปรแกรมซอพแวร์ที่ช่วยสร้างแบบจำลองและทำนายผลด้านเคมี (โปรแกรม PyGauss และ PyWeka) หรือด้านการวินิจฉัยเชื้อแบคทีเรีย (โปรแกรม PyBact และ PyWeka) โปรแกรมซอพแวร์ที่รวบรวมองค์ความรู้จากตำราด้าน molecular imprinting (A text-mining software)
ผลกระทบ การใช้โปรแกรมร่นระยะเวลา แรงงานคน และค่าใช้จ่ายในการช่วยคัดกรองหาสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพเมื่อเทียบกับกระบวนการค้นหายาแบบดั้งเดิม ในการค้นหาตัวยาใหม่ การใช้โปรแกรมป็นแหล่งเรียนรู้ในการวินิจฉัยเชื้อแบคทีเรีย หรือสกัดองค์ความรู้ด้าน molecular imprinting จากตำรา โปรแกรมซอพแวร์ที่ได้ จะขยายผลให้เกิดประโยชน์ต่อวงการวิชาการ โดยจะเปิดเป็นโปรแกรมซอพแวร์แบบใช้ฟรี
โครงการพัฒนาชุดถ่ายภาพและชุดเสริมสมรรถนะกล้องจุลทรรศน์ธรรมดาให้มีคุณสมบัติเทียบเคียงกล้องจุลทรรศน์ฟลูออเรสเซนต์
โครงการนี้ถือเป็นโครงการวิจัยนำร่องเชิงนวัตกรรมการดัดแปลงผลิตภัณฑ์เพิ่มมูลค่า กลุ่มทำวิจัยมีการดึงศักยภาพ ความถนัด มาคิดค้นหรือดัดแปลงวัตถุดิบ/ผลิตภัณฑ์ ให้เป็นวัตถุ/ผลิตภัณฑ์ดัดแปลงที่เพิ่มมูลค่า มีเอกลักษณ์ที่สะท้อนให้เห็นความคิดริเริ่มและภูมิปัญญาในการวิจัยและพัฒนาอย่างแท้จริง
ผลลัพธ์ที่ได้ กล้องจุลทรรศน์พื้นฐานดัดแปลง ที่ขยายสมรรถะการใช้งานเพิ่มเติมด้านการดูวัตถุด้วยแสงฟลูออเรสเซนต์ และสามารถบันทึกภาพเข้าสู่คอมพิวเตอร์ โดยใช้ต้นทุนต่ำกว่าประมาณ 6 เท่าเมื่อเทียบกับค่าใช้จ่ายในการซื้อกล้องจุลทรรศน์ฟลูออเรสเซนต์
ผลกระทบ ต้นแบบกระบวนการวิจัยและพัฒนาดัดแปลงกล้องจุลทรรศน์ การถ่ายโอนความรู้และกระบวนการสู่การเรียนการสอน และการวิจัยต่อไป
3.2 จำนวนและคุณภาพผลงานวิจัย
3.3 ผลงานวิจัยดีเด่น
1. รางวัลวิทยานิพนธ์ประจำปี 2550 ประเภทรางวัลดีเยี่ยม ในสาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช จากสภาวิจัยแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ เรื่อง “กระบวนการออกแบบชีวโมเลกุลและพอลิเมอร์ โดยอาศัยวิธีทาง Quantum Chemical และ Machine Learning เพื่อประยุกต์ใช้ทางเคมีและชีววิทยา (Computer – Aided Molecular Design for Biological and Chemical Applications : Quantum Chemicals and Machine Learning Approach)” วิทยานิพนธ์: อ. ดร. ชนินทร์ นันทเสนามาตร์ ที่ปรึกษาหลัก: รศ. ดร. วีระพงศ์ ปรัชชญาสิทธิกุล
2. การยกย่องจากวารสาร ImmunoVision ของกลุ่มวารสารในเครือ Wiley-Blackwell ให้งานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารฉบับนี้ เรื่อง Plasmodium vivax parasites alter the balance of myeloid and plasmacytoid dendritic cells and induction of regulatory T cells เป็น The best immunological Research ผู้วิจัย อ. ดร. กุลชาติ จังภัทรพงศา และคณะ
ด้านบริการวิชาการ
จุดเด่นด้านบริการวิชาการ มีดังนี้
1. มีส่วนช่วยพัฒนาคุณภาพมาตรฐานห้องปฏิบัติการในวิชาชีพ โครงการประเมินคุณภาพห้องปฏิบัติการภูมิคุ้มกันวิทยาโดยองค์กรภายนอก (EQAI)
โครงการ EQAI มีขอบข่ายดำเนินการเป็นองค์กรภายนอก ประเมินผลการทดสอบทางภูมิคุ้มกันวิทยาในโปรแกรม EQAI in Syphilis serology scheme และ EQAI in Hepatitis B serology scheme ทำหน้าที่ประเมินความสามารถห้องปฏิบัติการสมาชิกทั้งภาครัฐและเอกชน ประมาณ 150 แห่งทั่วประเทศ โดยมุ่งพัฒนาห้องปฏิบัติการให้มีสมรรถนะทำการทดสอบที่เทียบเคียงกันได้ ส่งผลให้เกิดประโยชน์โดยตรงต่อผู้เกี่ยวข้องในวงการแพทย์ ในวงวิชาชีพ และพัฒนาขีดความสามารถห้องปฏิบัติการทดสอบในวิชาชีพภายในประเทศเข้าสู่มาตรฐานสากล
การดำเนินงานมีมาตรฐาน โดยอิงตามระบบการดำเนินงานของหน่วยงานที่เป็นองค์กรภายนอกประเมินผลการทดสอบทางภูมิคุ้มกันวิทยาที่มีมาตรฐานสากล (UKAS, United Kingdom Accreditation Service) อิงตามเงื่อนไขของการเป็น PT provider และใช้ผลการวิจัยและประสบการณ์ดำเนินการในช่วงโครงการนำร่องเป็นแนวทาง
ประสบการณ์การดำเนินงานอย่างต่อเนื่องประมาณ 10 ปี ทำให้เป็นผู้นำในการเป็นองค์กรภายนอกประเมินคุณภาพห้องปฏิบัติการภูมิคุ้มกันวิทยา เป็นหน่วยงานแห่งการเรียนรู้ สะท้อนจากมีการพัฒนาศักยภาพบุคลากรและถ่ายทอดกระบวนการเรียนรู้ให้กับบุคลากรรุ่นใหม่ ตั้งแต่การผลิต control materials จนเสร็จสิ้นกระบวนการ มีการพัฒนาโปรแกรมซอพแวร์ที่มีประสิทธิภาพเหมาะกับการใช้งานและนำมาใช้ประโยชน์จริงไม่น้อยกว่า 3 ปี นอกจากนี้โครงการ EQAI ยังได้รับความเชื่อถือจากห้องปฏิบัติการสมาชิก และได้รับการยอมรับจากห้องปฏิบัติการอื่นๆ ที่ขอสมัครเป็นสมาชิกเพิ่มเติม
2. มีส่วนช่วยพัฒนาการตรวจวิเคราะห์ทางจุลชีววิทยา โครงการผลิตน้ำยาชุดทดสอบเชื้อรา
3. สร้างโอกาสขยายและพัฒนางานบริการในวิชาชีพ โครงการประกันคุณภาพทางจุลชีววิทยา
- เป็นหน่วยงานตรวจวิเคราะห์คุณภาพผลิตภัณฑ์นม ผลิตภัณฑ์สุขภาพ แห่งแรกและแห่งเดียวของคณะเทคนิคการแพทย์
- ประสบการณ์การหน่วยงานตรวจวิเคราะห์ ~ 18 ปี ทำให้เป็นที่ยอมรับของหน่วยงานราชการที่ขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์
- มีส่วนช่วยให้ผู้ประกอบการภาคการผลิต ให้มีความเข้มแข็งในการผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ และสร้างความปลอดภัยต่อผู้บริโภค
- สามารถสร้างรายได้สนับสนุนการดำเนินงานของภาควิชาฯ และสร้างโอกาสในการพัฒนาศักยภาพหน่วยงานบริการสู่ความเป็นสากล
4. การเป็นแหล่งฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากรในวิชาชีพ
- เป็นพัฒนาบุคลากรด้านวิชาชีพ สอดคล้องกับกับการพัฒนาบุคลากรตามระบบคุณภาพสากล เช่น ISO
- เป็นการขยายศักยภาพการฝึกอบรมด้านวิชาชีพในตลาดวิชาการนานาชาติ สร้างความเข้มแข็งและยกระดับคุณภาพงานการฝึกอบรมสู่ความป็นสากลอย่างเป็นรูปธรรม
ด้านบุคลากร
คณาจารย์มีคุณวุฒิ มีความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์เฉพาะทางในด้านวิชาชีพ วิชาการ บริหาร หรือผสมผสาน และมีส่วนร่วมในการพัฒนาวิชาชีพ/วิชาการ มีผลงานเชิงประจักษ์เผยแพร่ผ่านผลงานวิจัยตีพิมพ์ สื่อการเรียนการสอนและฝึกอบรม เป็นที่ปรึกษาวิชาการ จนเป็นที่ยอมรับในวงวิชาชีพ/วิชาการ ดังแสดงจากหลักฐานอ้างอิง หรือรางวัลความสำเร็จที่ได้รับ ดังนี้
1. คุณวุฒิและความเชี่ยวชาญ
คุณวุฒิ ป. เอก : ป. โท 16 : 7
ตำแหน่งทางวิชาการ ศ. : รศ. : ผศ. : อ. 1 : 5 : 8 : 9
คณาจารย์มีส่วนช่วยพัฒนางานวิชาการ วิชาชีพ ได้แก่
- บรรณาธิการวารสารวิชาการระดับนานาชาติ
- ผู้ทรงคุณวุฒิอ่านผลงานวิจัยที่ส่งตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ
- ผู้ทรงคุณวุฒิอ่านผลงานที่เสนอขอตำแหน่งทางวิชาการ
- ผู้ทรงคุณวุฒิอ่านโครงการที่เสนอขอทุนวิจัย
- ผู้ทรงคุณวุฒิตรวจติดตามด้านคุณภาพตามระบบคุณภาพ เช่น MUQD ISO15189
- ที่ปรึกษาโครงงานวิจัย
- กรรมการจัดทำวิธีการตรวจวิเคราะห์ที่เป็นมาตรฐานอ้างอิง
- วิทยากรบรรยายพิเศษ
2. บุคลากรดีเด่น